วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

Cloud Server

Cloud Server คืออะไร ?

ก่อนอื่น ต้องมารู้จักกับ Server กันก่อน
Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่สำหรับเก็บข้อมูล เป็นตัวคอยบริการสิ่งต่าง ๆ ตามคำเรียกร้อง (Request) ของผู้ใช้งาน (Client)
ยกตัวอย่างเช่น Web Server หากมีผู้ใช้งาน ต้องการเปิด Website ที่ Server นั้นให้บริการอยู่ ตัว Server ก็จะส่งข้อมูลของ Website นั้น ๆ ไปให้แก่ผู้ใช้งาน นั่นเอง

แล้ว Cloud Server คืออะไร ?
Cloud Server เป็นกลุ่มของ Physical Server หลาย ๆ ตัว ที่ช่วยกันทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่ง Cloud Server นี้ จะให้บริการในรูปแบบ Virtual Server (เซิร์ฟเวอร์เสมือน)
หลักการทำงานของ Cloud Server
(ตามรูปจากด้านล่างขึ้นบน)
  1. SAN storage เป็นที่ไว้สำหรับเก็บข้อมูลแก่ผู้ใช้งานทุกคน
  2. Physical Server หลาย ๆ ตัวจะร่วมกันทำงาน หากตัวใดเสียไป ตัวอื่นก็สามารถทำงานทดแทนได้
  3. Hypervisor เป็น Software ชนิดหนึ่ง เช่น VMware, Hyper-V ที่ต้องลงไว้บน Physical Server แต่ละตัว ความสำคัญของ Hyervisor คือ เพื่อให้สามารถแบ่งเป็น Virtual Server ย่อย ๆ ได้นั้นแหละ
  4. Resource Pool จะประกอบไปด้วย CPU, RAM และ HDD ของทุกอุปกรณ์ (Physical Server, SAN storage) จะทำงานร่วมกัน เป็นที่มาของการที่ Cloud ช่วยกันทำงาน !! 
  5. Virtual Server ก็คือ Server ที่ลูกค้านำไปใช้งาน ซึ่งสามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบตามแต่ Resouce ที่เรามี ซึ่ง App กับ OS ของแต่ละเครื่อง/แต่ละผู้ใช้งาน ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละคนเลย เสมือนเป็น Server เครื่องนึง
Cloud Server เอาไว้ทำอะไร ?
สามารถใช้งานได้เหมือนกับ Server ทั่วไปเลย ยกตัวอย่างเช่น นำไปทำ Web Server, Application Server เป็นต้น

ถึงตรงนี้ก็พอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับ ว่า Cloud Server ดีอย่างไร และทำอะไรได้บ้าง
สนใจใช้งานกดตรงนี้เลย ! Cloud Server
-- Cloud HM 

Big Data

“Big Data” 

สำคัญสำหรับธุรกิจยุค 4.0 อย่างไร

ในยุคปัจจุบันที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมหาศาล หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับคำว่า “Big Data” มาบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยเกี่ยวกับการนำข้อมูลมหาศาลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ เพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือเพื่อกำหนดทิศทางขององค์กร บทความในวันนี้จะอธิบายความสำคัญของ Big Data ต่อธุรกิจในยุค 4.0 ค่ะ

Big Data คืออะไร

Big Data คือ ปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ในบริษัทของคุณทุกรูปแบบ ไม่ว่าแหล่งที่มาจะมาจากภายในบริษัทหรือภายนอกก็ตาม ทั้งนี้แบ่งออกเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) และข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data) โดยมีองค์ประกอบ 5V ดังนี้:
  • Volume คือ ข้อมูลปริมาณมากเกินกว่าที่ฐานข้อมูลแบบเดิมจะจัดเก็บได้
  • Velocity คือ ข้อมูลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น Social Media, Sales Data, หุ้น ฯลฯ
  • Variety คือ ข้อมูลมีความหลากหลาย ทั้งตัวเลข ข้อความ อีเมล รูปภาพ เสียง วิดิโอ ฯลฯ
  • Veracity คือ คุณภาพข้อมูลที่ต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ หากข้อมูลไร้คุณภาพก็จะส่งผลต่อการวิเคราะห์ต่อไป
  • Value คือ ความคุ้มค่าของการนำข้อมูลที่มีประโยชน์ไปใช้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Big Data ได้ที่นี่

Big Data สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

เมื่อวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจคือการสร้างยอดขาย สร้างรายได้ ให้เกิดกำไรสูงสุด การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธุรกิจของคุณก็สามารถบอกได้ว่าควรจะวางแผนกลยุทธ์อย่างไร เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมาแล้ว คุณสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์โอกาส ความเป็นไปได้ และนำมาเป็นตัวช่วยในการกำหนดทิศทางองค์กรได้อย่างรวดเร็วในยุคที่มี Data มากมายเกิดขึ้นแบบ Real-time เช่นนี้
  • ทำให้เข้าใจสภาพตลาด วิเคราะห์ความต้องการและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค เพื่อให้เราสามารถวางแผนนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการได้ทันท่วงที
  • ทำให้เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถคาดการณ์และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อนำกลับมาปรับกลยุทธ์การตลาด และนำเสนอโปรโมชั่นและปรับปรุงบริการให้โดนใจและตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างแท้จริง

แนวทางในการนำ Big Data มาใช้ในธุรกิจ SME

  1. รู้ว่าสิ่งที่คุณต้องการคืออะไร
  2. ก่อนเริ่มต้นนำ Big Data ไปวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่ากำลังมองหาอะไร และธุรกิจมีปัญหาใดที่ต้องแก้ รวมถึงต้องจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และรวบรวมเอามาไว้ในแพลตฟอร์มเดียวจะช่วยให้ง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์ ปัจจุบันนี้มีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้การวิเคราะห์ธุรกิจง่ายขึ้นเช่น Google Analytics เป็นต้น แม้ว่าธุรกิจจะเล็กแต่ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร
  3. เรียนรู้ ลงมือทำ และเลือกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญมาใช้
  4. เมื่อเข้าใจแล้วว่าวัตถุประสงค์คืออะไร กำลังจะทำอะไร คุณจะต้องลงมือทำและเรียนรู้การใช้ Big Data ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้เข้าใจวิธีการจัดการข้อมูลมากขึ้น โดยสิ่งนี้เองจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและลดต้นทุน ดังนั้นการเลือกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่น ปริมาณผู้เข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม เพจที่ผู้ชมเข้าถึงมากที่สุด ยอดการสั่งซื้อสินค้า จำนวนผู้มีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจของคุณ เช่น ยอด like, share สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อเพิ่มผลกำไร และทำนายปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
  5. นำข้อมูลมาใช้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานและความสัมพันธ์กับลูกค้า
    หากธุรกิจของคุณขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของลูกค้า Big Data จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการวิเคราะห์ว่าทำไมลูกค้าจึงเปลี่ยนใจไม่สั่งซื้อสินค้า ลูกค้ามีวิธีการตัดสินใจอย่างไร และลูกค้าแต่ละคนสามารถสร้างมูลค่าให้กับบริษัทได้มากเท่าไร นอกเหนือจากนี้ยังสามารถช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าในระยะยาวได้อีกด้วย
PeerPower คือผู้ให้บริการสินเชื่อธุรกิจออนไลน์ โดยเราเป็นตัวกลางในการจับคู่ผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อ SME กับนักลงทุนรายใหญ่ สำหรับท่านที่สนใจขอสินเชื่อหรือเป็นนักลงทุนสามารถลงทะเบียนด้านล่างเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

10 ปุ่มลัดคีย์บอร์ด

10 ปุ่มลัดคีย์บอร์ด


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ