หน่วยการเรียนที่ 2

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ 


1. ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์คืออะไร
Picture     ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์  ทำหน้าที่โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
      ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้   เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์  Keyboard ขณะเปิดเครื่อง  ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด  “Keyboard Error”  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ  อำนวยความสะดวกในการใช้งาน  และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ
2. ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร
    



     เนื่องจากการทำงานของระบบปฏิบัติการ คือ  การจัดการโปรแกรมต่างๆ  ที่กำลังทำงานให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งโปรแกรมต่างๆ  ที่กำลังทำงานอยู่นั้น  เรียกว่า โปรเซส  (process)  ดังนั้นในการอธิบายหลักการทำงานของระบบปฏิบัติการ  จะขอกล่าวถึงวิธีจัดการทำงานโปรเซสของระบบปฏิบัติการว่ามีกระบวนการอย่างไรเมื่อระบบปฏิบัติการสร้างโปรเซสขึ้นมา  ก็จะมีการนำโปรเซสดังกล่าวเข้าสู่ระบบการทำงาน  ดังแสดงในรูป  ซึ่งขั้นตอนการทำงานจะแบ่งตามสถานะของโปรเซส  ดังนี้ 

       ขั้นตอนการทำงานของโปรเซส
     1. สถานะพร้อม (ready state)   หมายถึง สถานะของโปรเซสใหม่ที่พร้อมจะเข้าใช้งาน CPU เมื่อ ระบบปฏิบัติการให้โปรเซสดังกล่าวใช้งานได้
     2. สถานะทำงาน (running state) หมายถึง สถานะโปรเซสที่กำลังใช้ CPU ในการทำงานตามความต้องการของโปรเซสนั้น และเมื่อหมดเวลาในการเข้าใช้งาน CPU ที่ระบบปฏิบัติการกำหหนดไว้โปรเซสดังกล่าวก็จะกลับมาอยู่ในสถานะพร้อมเพื่อรอใช้งาน CPU ในครั้งต่อไป
     3. สถานะติดขัด (blocked sate) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่หยุดการทพงานเพื่อรอเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโปรเซสที่กำลังทำงานอยู่ต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์อินพุต-เอาต์พุต โปรเซสที่อยู่ในสถานะทำงานจะเปลี่ยนมาเป็นโปรเซสที่อยู่ในสถานะติดขัด เพื่อเปิดโอกาสให้โปรเซสอื่นสามารถเข้าใช้งาน CPU ได้
     4. สถานะแน่นิ่ง (deadlocked) หมายถึง สถานะของโปรเซสที่หยุดการทำงานเพื่อรอเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีวันเกิดขึ้น ซึ่งสถานะดังกล่าวนี้จะทำให้โปรแกรมที่ใช้งานอยู่หยุดค้างการทำงาน (hang) หรืออาจจะทำหึ้คอมพิวเตอร์หยุดค้างการทำงานได้เช่นกัน
3. ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรบ้าง
     • อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ใช้ (user) ใช้เครื่องฯ ได้ง่าย (Operating System Objectives  Convenience) ทำให้คอมฯ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
      • ใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)  จัดการการใช้ทรัพยากรของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     • เพิ่มความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรม  (Ability to evolve) เพื่อรองรับให้ผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ, สามารถทดสอบโปรแกรม, และสามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ  โดยปราศจากการแทรกแซงของระบบปฏิบัติการในระหว่างการทำงาน

4.จงยกตัวอย่างระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์มา 3 ตัวอย่าง
     ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้น ๆ) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
     * DOS (Disk Operating System)   
     * Windows   
     * Unix   
     * Mac OS X   
     * Linux  

     ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง  
     * Windows Server   
     * OS/2 Warp Server   
     * Solaris
     ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( Embedded OS ) เรามักจะพบเห็นการใช้งานของระบบปฏิบัติการแบบฝังนี้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เช่น Palm, pocket PC, Smart phone รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
     * Pocket PC OS (Windows CE เดิม)   
     * Palm OS   
     *Symbian OS

ระบบปฎิบัติการ Windows ที่ในปัจจุบันนิยมใช้กันมากที่สุด
Windows10



Windows 8


Windows 7 



หมายเหตุ : 
ถัดจาก Windows 7 ลงไปทางผู้พัฒนาได้หยุดการพัฒนาและไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน เช่น 
XP VISTA ME 2000 98 95 เป็นต้น


อ้างอิงที่มา
     * https://nakizacom.weebly.com/3619363236103610361135993636361036333605363635853634361935883629361736143636362336483605362936193660-operating-system.html
     * https://sites.google.com/a/cvc-cha.ac.th/2240-20022/2-3-hlak-kar-thangan-khxng-rabb-ptibati-kar
     * https://sites.google.com/site/teachniccom/content1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น